อิฐ โรงงานอิฐ ราคาอิฐมอญ อิฐมอญ ราคาอิฐแดง ราคาจำหน่ายอิฐมอญ ราคาขายอิฐมอญ ราคาอิฐมอญตันมือ ราคาอิฐบล็อก ราคาอิฐตัน ราคาอิฐรู

168 อิฐ โรงงานอิฐ ราคาอิฐมอญ อิฐมอญ ราคาอิฐแดง ราคาจำหน่ายอิฐมอญ ราคาขายอิฐมอญ  ราคาอิฐมอญตันมือ ราคาอิฐบล็อก ราคาอิฐตัน ราคาอิฐรู 88
#อิฐมอญ#อิฐแดง#อิฐมอญตัน#อิฐมอญตันมือ#อิฐมอญรูเครื่อง#อิฐข้างลาย
#อิฐมอญรูเครื่องใหญ่  2 รู #อิฐบล็อก #ขายอิฐมอญ #จำหน่ายอิฐมอญ#อิฐมวลเบา#อิฐโบราณ

อิฐ สืบสานสิ่งก่อสร้าง
อิฐนับเป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่สามารถนำมาบอกเล่าเรื่องราวในอดีตได้เป็นอย่างดี เป็นเวลากว่า 2,000 ปีมาแล้วที่มนุษย์รู้จักการนำดินโคลนจากแม่น้ำมาทำเป็นอิฐสำหรับงานการก่อสร้าง โดยอียิปต์ถือเป็นชาติแรกที่รู้จักวิทยาการนี้
 ติดต่อคุณเต้ Tel:087 371 0238 Line id:tae9312
ติดต่อคุณเต้ Tel:087 371 0238 Line id:tae9312


ติดต่อคุณเต้ Tel:087 371 0238 Line id:tae9312

อิฐ ชุมชนบ้านบางเดื่อ ได้มีการผลิตเพื่อตอบสนอง การก่ออารคาร บ้านที่อยู่อาศัยทั้งในกรุงเทพ ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง และปริมณฑล อีกทั้งนำมาเพื่อใช้ตกแต่งสวนนั่งเล่น ซึ่งจะให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ สบายตาควรค่าเมื่อยามพักผ่อน





ทดสอบแรงตก (DROP TEST). 1.5 เมตร ผล OK.

สำหรับประเทศไทยเริ่มมีการนำมาใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการก่อสร้างเมื่อราวปี พ.ศ . 1100 ซึ่งขณะนั้นชนชาวขอมที่เข้ามามีอำนาจอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิเป็นผู้ริเริ่มนำอิฐมาใช้

ราวพุทธศตวรรษที่ 11-16 สมัยทวารวดี ก็ได้ขุดพบอิฐในงานก่อสร้างสถาปัตยกรรมรูปทรงเจดีย์อยู่มากมายและได้รับการสานต่อสืบมาจนถึงสมัยสุโขทัยหลักฐานที่ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ก็ได้แก่ ซากโบราณสถานต่าง ๆ อาทิ พระราชวัง เจดีย์ตลอดจนพระพุทธรูป ซึ่งถือเป็นงานศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของยุคที่ทรงคุณค่ายิ่งเข้าสู่สมัยอยุธยา การทำอิฐขึ้นใช้ในงานก่อสร้างยังคงได้รับความนิยมอยู่ และดูจะเพิ่มมากขึ้นกว่ายุคสมัยที่ผ่าน ๆ มาเสียอีกเนื่องจากมีการพัฒนาบ้านเมืองในรูปของสิ่ง ปลูกสร้างมากมาย ทั้งในส่วนของพระบรมมหาราชวัง อาคาร โดยเฉพาะวัดอันเป็น พุทธสถานสำคัญมีปรากฏให้เห็นมากเป็นพิเศษ ทั้งนี้เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงยึดถือเป็นประเพณีที่ต้องมีวัดประจำรัชกาล

ความต้องการใช้อิฐที่เพิ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเเละตลอดเวลา ทำให้คนไทย ซึมซับเอาวิทยาการแขนงนี้เข้าสู่สายเลือดโดยไม่รู้ตัว จนกล่าวได้ว่าหากเป็นชาวอยุธยาแล้วแทบไม่มีผู้ใดเลยที่เลยที่ไม่สัมผัสหรือพบเห็นงานทำอิฐมาก่อน

อิฐมอญ ภูมิปัญญาชาวบางปะหัน

การทำอิฐนับเป็นในหลาย ๆ อาชีพมีแต่โบราณ โดยสืบทอดมาจากคนรุ่น ก่อน ๆ แม้บางช่วงจะประสบกับปัญหาและอุปสรรคมากมาย จนหลายรายต้องละทิ้งอาชีพนี้ไปหาอาชีพใหม่ หากมีจำนวนไม่น้อยที่ต่อสู่และฝ่าฟันปัญหาอย่างไม่ท้อถอย ยังผลให้กลไกการสืบสานภูมิปัญญาของบรรพชนดำเนินต่อไป

ผลของความอดทนและยึดมั่นในอาชีพทำอิฐนี้ส่งผลให้ผู้ประกอบการบางรายหรือบางครอบครัวร่ำรวยกลายเป็นเศรษฐีไปแล้วก็มาก โดยเฉพาะช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศเจริญมาก ๆ อย่างในปี พ.ศ. 2536 – 2539 ซึ่งความต้องการใช้อิฐมีมากจนกำลังการผลิตที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ

แหล่งผลิตอิฐที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณที่ราบลุ่ม ภาคกลาง เช่น จังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ปทุมธานีและนนทบุรี โดยผู้ผลิตจะรวมกันเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละกลุ่มมีผู้ประกอบการตั้งแต่ 50 รายไปจนถึง 500 ราย ซึ่งอาจขยายตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงบ้างตามปัจจัยที่เป็นผลกระทบ อาทิ ความต้องการใช้อิฐลดลง ราคาวัตถุดิบสูงขึ้นสถานที่ดังเช่นใกล้หรือไกลแหล่งวัตถุดิบ

การลงทุน

อาชีพการทำอิฐนับเป็นอาชีพที่ยั่งยืนคู่อำเภอบางปะหัน แห่งกรุงศรีอยุธยามา ช้านานแล้ว เจ้าของกิจการทำอิฐหลายรายกล่าวทำนองเดียวกันว่า หากคิดจะยึดอาชีพนี้ไม่ใช่เรื่องยาก ขอเพียงให้มีความตั้งใจจริงในการประกอบอาชีพเท่านั้น

หากเป็นผู้ที่ไม่มีพื้นฐานการทำอิฐมาก่อนเลย เริ่มแรกให้เข้าไปศึกษากระบวนการผลิตทั้งหมดจากกิจการที่ทำกันอยู่เพียง 2-3 ครั้งก็สามารถนำกลับมา ทำเองได้แล้ว

ด้านการลงทุน หากเป็นกิจการขนาดเล็ก คือ ผลิตอิฐครั้งละจำนวน 200,000- 300,000 ก้อน จะใช้ทุนโดยรวมไม่เกิน 100,000 บาท โดยทุนนี้จะเเบ่งเป็นค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น แบบพิมพ์ คราด จอบ เสียม พลั่ว รถเข็น เครื่องปั่นดิน ตลอดจนค่าโรงเผาอิฐ หลังคามุงจาก ขนาดกว้าง 4 วา ยาว 8 วา เป็นต้น

แต่หากไม่มีเงินก้อนสำหรับลงทุนมากขนาดนั้นก็สามารถลดทอนลงได้อีก อาทิตัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องทุ่นแรงประเภทเครื่องยนต์ออกไปซึ่งจะช่วยลดต้นทุน ไปได้ถึง 20,000 บาท หรือหากเงินทุนยังมีไม่พออีกก็สามารถหักค่าใช้จ่ายในส่วนของการสร้างโรงเผาอิฐซึ่งมีมูลค่าราว 20,000 บาทออกไป โดยเมื่อถึงขั้นตอนการเผาอิฐก็ใช้วิธีเผากลางเเจ้งแทน

สำหรับผู้ผลิตที่ลงมือทำทุกอย่างด้วยมือและกำลังแรงกายที่มีอยู่นับตั้งแต่การขนดิน ย่ำดิน อัดพิมพ์แบบพิมพ์ไม้ จนถึงตาก เผา เพียงทุนเริ่มต้นแค่ 4,000-5,000 บาท ก็สามารถมีโรงทำอิฐเป็นของตนเองได้เช่นเดียวกัน

ที่สำคัญต้องมีคุณสมบัติที่ดีของคนทำอิฐ คือ อดทน ขยันและรู้จักประหยัด

วัสดุอุปกรณ์ในการทำอิฐ

เครื่องมือสำคัญในการทำอิฐ ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะคิดประดิษฐ์ขึ้นใช้เองเพื่อประหยัด โดยนำวัสดุที่หาได้จากพื้นบ้านดัดแปลงต่อเติมเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เว้นแต่ที่ทำไม่ได้เป็นเครื่องทุ่นแรงที่เป็นเครื่องจักรกลสำหรับเครื่องมือหลัง ๆ ได้แก่

ปุ้งกี๋ เมื่อก่อนสานด้วยหวายและไม้ไผ่ ต่อมาหวายและไม้ไผ่ขาดแคลนจึงหันมาใช้พลาสติกสานแทน บางทีก็ใช้ยางรถยนต์เก่าซึ่งได้รับความนิยมไม่แพ้กัน ใช้สำหรับงานโกยที่ต้องขนย้ายทั่วไป

เข่ง บางทีเรียกว่า หลัว ทำจากไม่ไผ่สาน งานที่ต้องใช้เข่งก็คือ ขนแกลบเพื่อนำมาผสมกับดินและงานขนอุปกรณ์ทั่วไป

พลั่ว ทำจากแผ่นเหล็ก มีไม้ไผ่เป็นด้าม ใช้ในการตักดิน แกลบ และคลุกเคล้าดิน แกลบ น้ำ ให้เป็นเนื้อเดียวกัน

คราด ทำด้วยเหล็กเช่นเดียวกับพลั่ว แต่มีหลักต่างกันคือ มีหน้าเป็นซี่กลม ๆ 6 ซี่ ส่วนใหญ่ใช้ไม้ไผ่ทำด้าม ใช้สำหรับเกลี่ยแกลบให้ทั่วขณะเผาอิฐและงานโกย สิ่งต่าง ๆ

สทา ทำจากแผ่นไม้หรือแผ่นเหล็ก มีด้ามเช่นเดียวกับพลั่วและคราดใช้ในการครูดเศษดินบนลานให้โล่งเตียนหลังจากเก็บแท่งดินเข้าเตาเผาใหม่ในรุ่นต่อ ๆ ไป นอกจากนั้นยังใช้สำหรับงานครูด โกย และอื่น ๆ

ไม้ไสดินหรือไม้แซะดิน ใช้สำหรับปรับลานตากดินที่มีเศษดินจากการไส แท่งดินให้ได้รูปทรงตกหล่นอยู่จำนวนมาก โดยจะใช้ใม้ไสดินนี้ทำการไสดินออกจากลานเพื่อให้ลานดินสะอาด และเรียบร้อย

รถเข็น ทำขึ้นง่าย ๆ จากเศษไม้ที่เหลือใช้ เริ่มจากต่อส่วนของกระบะก่อน จากนั้นล้อรถจักรยานที่ไม่ใช้งานแล้วมาใส่ทำให้สะดวกในการไสลากขึ้น ประโยชน์ของรถเข็นก็คือใช้ในการขนย้ายดินจากกองเพื่อนำไปหมักและขนย้ายดินที่ปั่นจนได้ที่แล้วไปกองสำหรับอัดลงพิมพ์เป็นอิฐ

กระป๋อง ใช้สำหรับตักน้ำ ส่วนใหญ่ใช้ในขั้นตอนการผสมดิน และระหว่างการอัดดินใส่แบบพิมพ์

เครื่องปั่นดิน เดิมขั้นตอนการผสมดินสำหรับทำอิฐผู้ผลิตจะใช้วิธีย่ำด้วยเท้าจนส่วนต่าง ๆ เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ทว่าเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีผู้คิดค้นเครื่องมือในการผสมดินที่ทันสมัยขึ้นมาใช้แทน เครื่องมือดังกล่าวเรียกว่าเครื่องปั่นดิน ขณะใช้งานมีเครื่องยนต์ขนาดกำลัง 9 แรงมาให้พลังงาน เป็นที่นิยมมากในปัจจุบันเพราะสามารถผสมดินได้ครั้งละมาก ๆ และใช้เวลาสั้นกว่าการผสมด้วยการย่ำจากแรงคน

โรงเผาอิฐ สมัยก่อนผู้ผลิตมักกันกลางแจ้ง เนื่องจากประหยัดต้นทุนในการสร้างโรงเผาอิฐ ข้อเสียก็คือ ไม่สามารถเผาอิฐในช่วงฤดูฝนได้ ภายหลังจึงได้สร้าง โรงเผาอิฐขี้น ลักษณะก็คือ เป็นโรงไม้หลังคาจากส่วนของหลังคามีลักษณะเป็นทรง จั่วสูง เชิงชนิดคาอยู่ระดับศีรษะ ไม่มีฝาด้านในใช้สำหรับเป็นที่เผาอิฐและเก็บอิฐ ทั้งชนิดที่เตรียมเผาและเผาสุกแล้ว

แบบพิมพ์ มีด้วยกัน 3 ชนิด แบบพิมพ์ไม้ ชนิดนี้สามารถทำขึ้นใช้เองได้ แบบ

พิมพ์โลหะ มีสองลักษณะคือ ทำจากเหล็กหรือสแตนเลส ราคาค่อนข้างสูง และ แบบพิมพ์พลาสติก ปัจจุบันได้รับความนิยมมากกว่าแบบพิมพ์ชนิดอื่น เนื่องจากมีราคาย่อมเยา สะดวกทนทานต่อการใช้งาน ที่สำคัญคืออิฐที่ได้จากแบบพิมพ์พลาสติกยังให้ความสวยงามไร้ตำหนิพอ ๆ กับพิมพ์โลหะชนิดสแตนเลส ซึ่งดีกว่าเเบบพิมพ์ไม้มาก

นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น ๆ อีก อาทิ เครื่องไสดิน มีดปาดดิน ไม้ตบ ใช้สำหรับตกแต่งแท่งอิฐที่ได้จากพิมพ์ไม้ให้ได้รูปสวยงาม กระแตง สำหรับงานขนย้ายทั่วไป ติ้ว สำหรับนับจำนวนเวลาขนอิฐขึ้นรถในขั้นตอนการขาย แผงเหล็ก สำหรับกับความร้อนไม่ให้กระจายออกมานอกโรงเผาอิฐขณะทำการเผา เป็นต้น

มาตรวัดคุณภาพอิฐ

การทำอิฐให้ได้คุณภาพและมีต้นทุนต่ำ สิ่งสำคัญคือต้องรู้จักเลือกใช้วัตถุดิบที่เหมาะสมและอยู่ใกล้แหล่งผลิต วัตถุดิบที่ว่า ได้แก่ ดิน แกลบ น้ำ

ดินที่ใช้ทำอิฐคือ ดินเหนียว มีอยู่ดัวยกันหลายชนิด แต่ละชนิดจะให้คุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น ดินเหนียวปูน มีลักษณะเป็นดินที่มีธาตุปูนผสมอยู่มาก สังเกตจากดินมีสีออกขาวนวล เมื่อนำมาทำอิฐจะได้อิฐสีเหลืองอ่อน ไม่แดงเข้มสวยงาม ดินเหนียวแก่ มีความเหนียวมาก เมื่อกองทิ้งไว้นาน ๆ จะแข็งคล้ายหิน มีข้อเสียคือ เมื่อนำไปทำอิฐจะเกิดการรัดตัวจนแท่งอิฐบิดงอ ดินทั้งสองชนิดนี้ไม่นิยมนำมาทำอิฐ เนื่องจากมีคุณภาพต่ำ ทำให้อิฐขายไม่ได้ราคา

ดินเหนียวที่ได้รับความนิยม นำไปทำอิฐคือ ดินเหนียวปนทรายละเอียดเดิมผู้ผลิตจะได้ดินชนิดนี้จากใต้แม่น้ำ ปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้ดินที่ได้จากบนบกที่มีคุณสมบัติเหมือนกันแทนเพราะสะดวกกว่าการลงไปเอาดินจากแม่น้ำขึ้นมา

แกลบ จัดเป็นส่วนผสมที่สำคัญในการทำอิฐ มีคุณสมบัติช่วยให้ดินเกาะกันแน่นทำให้อิฐที่ได้ไม่เปราะแตกหักง่าย แกลบนับเป็นตัวแปรสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนการผลิตอิฐสูงและต่ำลง โดยหากเป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าว แกลบจะมีราคาถูกกว่าในช่วงอื่น ๆ เพราะแกลบมีจำนวนมาก หาซื้อได้ง่ายทั้งนี้ราคาของแกลบจะถูกกำหนดโดยพ่อค้าคนกลาง หรือเจ้าของโรงสีเป็นหลัก

น้ำ คุณสมบัติของน้ำในการผลิตอิฐก็คือ เป็นตัวประสานให้ดินและแกลบเข้ากันได้ดี ขณะทำการนวดดิน หรือปั่นดินสำหรับอัดลงพิมพ์ทำอิฐไม่มีส่วนผสมที่ตายตัว สำหรับผู้ผลิตที่ชำนาญสามารถรู้ได้โดยประสบการณ์ว่าจะต้องใช้น้ำมากหรือน้อยในการผสมเพื่อให้เกิดความพอดี

ก่อนจะเป็นอิฐ

นวดดิน ขั้นแรกเริ่มกันที่การกำหนดจำนวนก้อนอิฐที่ต้องการเสียก่อนจากนั้นจึงกำหนดสัดส่วนของวัตถุดิบที่จะต้องใช้ เช่นนี้ถ้าต้องการอิฐจำนวน 3,000 ก้อน จะต้องใช้ดินประมาณ 5 คันรถเข็น กับแกลบอีก 2 เข่ง ผสมลงในบ่อหมักขนาดความลึก 30- 40 เซนติเมตร กว้าง x ยาว 3 เมตร ที่เตรียมไว้ จากนั้นคลุกเคล้าให้เข้ากันโดยใช้น้ำช่วย

เมื่อสีดินกับแกลบกลมกลืนกันแล้ว สำหรับผลผลิตที่มีเครื่องปั่นดินให้ใช้พลั่วตักดินใส่ลงในเครื่องปั่นดิน แล้วปั่นต่อไปจนดินแหลกละเอียดเข้าเป็นเนื้อเดียวกับแกลบและเหนียวจนได้ที่

แต่ถ้าไม่มีเครื่องทุ่นแรงก็ใช้แรงคนย่ำต่อไปจนได้ดินที่มีลักษณะเนื้อเดียวกันซึ่งจะใช้เวลานานประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วแต่กำลังแรงคนเป็นสำคัญ

ในขั้นตอนการผสมดินและปั่นดินนี้สำหรับผู้ผลิตบางรายอาจใช้ขี้เถ้าจากแกลบซึ่งได้จากการเผาอิฐครั้งก่อน ๆ ผสมเข้าไปด้วยเพื่อให้อิฐมีน้ำหนักเบา แต่จะผสมไม่มากนัก เพราะถ้ามากเกินไปจะทำให้อิฐเปราะแตกหักง่าย

เมื่อได้ดินที่นวดจนได้ที่แล้วต้องนำไปอัดลงในพิมพ์ทันที เพราะถ้าปล่อยไว้นานเกินไปดินจะแห้งแข็งไม่สามารถอัดลงพิมพ์ได้ โดยก่อนลงมือพิมพ์จะต้องเก็บกวาดลานดินให้สะอาดเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ก้อนอิฐเกิดตำหนิจากเศษดินที่ตกหล่นอยู่บนลาน

อัดดินลงพิมพ์ เพื่อความสะดวด หลังจากนวดดินจนได้ที่แล้วผู้ผลิตจะขนดินไปกองไว้เป็นจุดๆพร้อมกับเตรียมกระป๋องใส่น้ำ กระป๋องใส่ขี้เถ้าเเกลบ และเเบบพิมพ์ไว้ตามจุดนั้น ๆ ด้วย เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วจะเริ่มทำการอัดพิมพ์ทันที

สำหรับพิมพ์ชนิดไม้ ผู้ทำจะใช้วิธีวางพิมพ์ในแนวนอนชิดแนวเชือกที่ขึงไว้เป็นเขตแดน จากนั้นโรยขี้เถ้ารองพื้นเพื่อป้องกันไม่ให้แบบติดลานตากก่อนนำดินในกองอัดลงในแบบ ซึ่งสามารถอัดดินไว้ได้ครั้งละ 4-7 ก้อน ขึ้นอยู่กับแบบพิมพ์ จากนั้นซัดขี้เถ้าบาง ๆ ทับลงไปอีกชั้น ยกแบบพิมพ์ออก เท่านี้ก็จะได้แท่งดินที่มีลักษณะเป็นแท่งอิฐตามต้องการ

หากเป็นแบบพิมพ์โลหะหรือแบบพิมพ์พลาสติกเนื่องจากมีลักษณะเป็นบล็อกสี่เหลี่ยมขนาดเท่ากัน อิฐหนึ่งก้อนมี 4-6 ช่อง เวลาใช้จึงต้องหงายพิมพ์ขึ้น โรยขี้เถ้า ลงไปบาง ๆ จากนั้นนำดินเหนียวที่นวดได้ที่แล้วอัดลงไปจนแน่น ปาดหน้าให้เรียบแล้วคว่ำพิมพ์ลงบนลานดิน ยกพิมพ์ออก เท่านี้ก็จะได้แท่งดินที่มีผิวเนียนเรียบ เหลี่ยมมุม ไม่หักบุบบู้บี้ ต่างจากพิมพ์ไม้ที่ส่วนใหญ่ผิวและเหลี่ยมมุมของแท่งดินมักมีตำหนิ

ตากจนได้ที่ เมื่อได้แท่งดินที่มีรูปร่างเป็นอิฐจนเต็มลานแล้วจะตากแท่งดินไว้บนลานนานประมาณ 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้ดินแห้งหมาด จากนั้นจะทำการตกแต่งแท่งดินให้ได้สัดส่วนยิ่งขึ้น ด้วยการใช้ไม้ตบเบา ๆ หรือใช้เครื่องไสมีดปาด สำหรับแท่งดินที่ทำจากแบบพิมพ์เสร็จแล้วตากต่อไปอีกประมาณ 2 วัน แต่หากแดดน้อยต้องเพิ่มเวลาให้นานขึ้นเป็น 3 วัน

คนทำอิฐจะใช้วิธีสังเกตเอาเองว่าแท่งดินที่ได้แห้งได้ที่หรือยัง ลักษณะของการแห้งได้ที่ก็คือ ผิวดินจะเป็นสีเทานวล จากนั้นจะขนแท่งดินใส่กระเตงลำเลียงไปเก็บไว้ในโรงเผาเพื่อเตรียมเผาให้สุกเป็นอิฐที่สมบูรณ์ต่อไป

เผาอิฐ ก่อนเผาจะต้องเรียงแท่งดินให้เรียบร้อยเสียก่อน วิธีการเรียงก็คือ วางแท่งดินสลับกันให้สูงขึ้นพอประมาณ โดยเปิดช่องด้านล่างไว้สำหรับให้ความร้อนผ่านเข้าไปได้ทั่วถึง

หลังจากเรียงแท่งดินเรียบร้อยแล้ว ใช้แท่งดินที่เหลือก่อเป็นกำแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่งเพื่อควบคุมความร้อนไม่ให้กระจายออกไปภายนอกเตาเผา โดยกำแพงต้องมีความสูงกว่าแท่งดินที่อยู่ด้านในเล็กน้อย เสร็จแล้วนำแกลบมากลบแท่งดินภายในให้ทั่วเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการเผา

ปริมาณของแกลบที่ใช้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนของแท่งดินเป็นหลัก เช่น ในการเผาอิฐ 40,000-60,000 ก้อน จะใช้แกลบประมาณ 1 คันรถสิบล้อ แต่ถ้าอิฐมีมากถึง 100,000 ก้อน ก็จะต้องใช้แกลบมากถึง 2 คันรถสิบล้อ

เสร็จแล้วจุดไฟเผาได้ทันที โดยขุดจากด้านล่างจนรอบกองแท่งดินแกลบที่ ถูกไฟเผาลุกลามต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จนทั่วทั้งเตา ใช้เวลาในการเผาประมาณ 12-15 วัน

ระหว่างเผาต้องหมั่นตรวจตรา เกลี่ยและเติมแกลบอยู่เสมอ ๆ เพื่อให้ความร้อนแผ่กระจายอย่างทั่วถึง เพราะถ้าอิฐบางก้อนไม่ได้รับความร้อนเท่ากับอิฐอื่น ๆ จะทำให้อิฐไม่สุก คือมีสีดำ กลายเป็นอิฐไม่มีราคา หรือขายไม่ได้ นอกจากนี้ยังต้องระวังไฟลุกลามจนไหม้โรงเผาได้

อิฐที่มีราคา

อิฐที่มีราคาคือ อิฐที่มีคุณภาพเท่านั้น ลักษณะของอิฐที่ได้คุณภาพก็คือผิวเนียนเรียบไม่ขรุขระ เหลี่ยมมุมได้ฉาก สีสม่ำเสมอทั้งก้อน ไม่บิดงอแตกร้าวหรือหักง่าย เมื่อเคาะจะมีเสียงแกร่งคล้ายโลหะ หักดูภาพในเนื้อดินต้องไม่เป็นรูพรุน ขนาดและ น้ำหนักโดยเฉลี่ยเท่ากันทุกก้อน

การจำหน่ายอิฐจะคิดราคากันเป็นแท่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด เป็นหลัก หากตลาดมีความต้องการสูงราคาก็จะสูงตาม แต่หากตลาดมีความต้องการ ลดน้อยลงราคาของอิฐก็จะตกตามไปด้วย เช่น ช่วงที่ความต้องการน้อย อิฐอาจมีราคาเพียงก้อนละ 55 - 57 สตางค์ แต่ถ้าเป็นช่วงที่ความต้องการมีมาก ราคาก็จะพุ่งสูงถึง ก่อนละ 70-90 สตางค์

ประโยชน์ที่ท้องถิ่นได้รับ

ชาวบ้านในอำเภอบางปะหัน ประกอบอาชีพการทำอิฐมอญกันมานาน ส่วนใหญ่สมาชิกในครอบครัวทุกคนล้วนเคยชินกับวิถีชีวิตนี้ นอกจากคนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาสูง จะเริ่มหันออกไปทำงานอื่นตามวิชาชีพที่เรียนมา

แต่ยังมีไม่น้อยที่ยึดอาชีพนี้เลี้ยงตนเองและครอบครัว ซึ่งหลายรายประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็สามารถสร้างงานในท้องถิ่นจากแรงงานของคนในพื้นที่ ตั้งแต่คนขนดินไปจนถึงขั้นตอนขนอิฐขึ้นรถล้วนต้องใช้แรงงานทั้งสิ้น ชาวบ้านส่วนหนึ่งในรายที่ไม่ได้เป็นเจ้าของโรงเผาจึงมีรายได้จากการรับจ้าง